Scent

Scent

Saturday, November 3, 2012

หนัง 3 เรื่องกับ ระบบของกฏหมายการหมดอายุคดีความ

2 พ.ย 2012 : Korea Joonang Daily



มีหนังใหม่ 3 เรื่องด้วยกันที่มีการนำเสนอกฏหมายเหล่านี้ขึ้นมาเป็นส่วนสำคัญของในหนัง ที่กฏหมายได้ปล่อยให้ฆาตกรได้เป็นอิสระอย่างง่ายดายหลังจากที่คดีได้หมดอายุลง หนังทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวคือ " Confession of Murder " , " Dirty Blood " และ " Don't cry Mommy " ตามลำดับจากภาพ

* เราจะขอแปลในส่วนของ COM เท่านั้น



หนัง Confession of Murder ของผู้กำกับ Jung Byung Gil  ได้จับเอาจุดความไม่พอใจกับเรื่องการปล่อยให้คดีหมดอายุนี้ได้เข้ามามีส่วนสำคัญอยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย โดยการสร้างเรื่องให้ฆาตกรผู้ซึ่งสามารถหาเงินทองเข้ากระเป๋าตัวเองได้จากการมาเขียนหนังสือเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมที่เขาก่อขึ้น หนังจะเข้าฉายในวันพฤหัสที่จะถึงนี้แล้ว

เพราะคดีการสังหารผู้หญิง 10 คนที่หมดอายุลงหลังจาก 15 ปี ผ่านไป ทำให้สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวเหยื่อผู้เสียชีวิตถึงกับกระโดดตึกฆ่าตัวตายต่อหน้านายตำรวจผู้รับหน้าที่ในการสืบสวนคดีนี้ คือ Choi Hyung Gu ( JJY )

2 ปีต่อมา Lee Du Seuk ( PSH ) ได้เขียนหนังสือเรื่อง " I am the Murderer " โดยอ้างว่าตัวเขาเองที่เป็นคนก่อคดีนี้ขึ้นเมื่อ 17 ปีก่อน หนังสือได้ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของหนังสือขายดี และ Lee ก็กลายเป็นคนโด่งดังขึ้นมา



Choi พยายามหาทางที่จะนำ Lee มาดำเนินคดีเพื่อความยุติธรรม

นักวิจารณ์หนัง Jeon Chan Il มองเห็นว่าหนังเรื่องนี้เท่ากับเป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึงความอึดอัดใจกับระบบกฏหมายดังกล่าว

" หนังหลายเรื่องถึงกับใส่ความรู้สึกร่วมของคนดูด้วยการปล่อยเหยื่อ หรือ ญาติของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้มีโอกาสล้างแค้นเสียอีกด้วย และมันได้กลายมาเป็นเรื่องที่กำลังทำกันออกมามากขึ้นที่หนังจะบรรจุความคิดเห็นทางสังคมออกมาในภาพยนตร์ " Jeon กล่าว

" ผมคิดว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่ควรให้การสนับสนุน หนังได้สื่อสารอะไรบางอย่างออกมาเช่นนี้ย่อมมีค่าและมีความหมายมากกว่าหนังที่จะเอาแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่เพียงอย่างเดียว "

By Park Eun-jee [ejpark@joongang.co.kr]

credit: parksihoobar.com, thanks !

4 comments:

  1. มันก็จริงอะนะ ฆ่าคนตายแล้วซ่อนตัวให้ดี รอหมดอายุความก็สบายปร๋ออออ
    แบบนี้ไม่แปลกที่ญาติพี่น้องเหยื่อจะโกรธแค้นอะอนะ

    ReplyDelete
  2. ที่บ้านเรามีการหมดอายุเหมือนกันไหมนะ ไม่ได้อยู่ในแวดวงของ นักกฏหมายเสียด้วย ที่อเมริกาไม่มีการหมดอายุหรอก บางคนแก่จะลงโรงมะร่อมะแร่แล้ว ยังต้องมาขึ้นศาลเลย เมื่อเขาตามเจอตัวกันทีหลัง

    ReplyDelete
  3. เมืองไทยมีหมดอายุนะคะ เท่าที่รู้คดีอาญามีอายุความ 20 ปี

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณคะสำหรับข้อมูล แสดงว่าเราก็เป้นประเทศส่วนน้อยที่ยังคงมีกฏหมายนี้อยู่ แต่ก็ไม่แปลกใจหรอก เพราะคนไทยนั้นถูกสอนให้รู้จักการให้อภัย และ ให้โอกาส แต่กับฆาตกรโรคจิต ไม่รู้สินะ ?

    ReplyDelete